โครงการนวัตกรรม “ระบบเฝ้าระวังมลภาวะทางอากาศด้วยเทคโนโลยี IoT” วัดค่าฝุ่น PM 2.5, PM 10, ค่าอุณหภูมิ, ความชื้น, คาร์บอนไดอ๊อกไซด์, และค่าก๊าซพิษต่างๆ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (NiA) ภายใต้โครงการ “แปลงเทคโนโลยีเป็นทุน” สิ้นสุดโครงการแล้วเมื่อ 30 สิงหาคม 2563 ปัจจุบันได้ผลิตเป็นสินค้าจัดจำหน่ายให้กับภาครัฐ และเอกชน ด้วยคุณสมบัติพิเศษดังต่อไปนี้
คุณสมบัติเด่นของเครื่องวัด PM2.5 ของ Siam-IoT
- สามารถส่งข้อมูลแจ้งเตือนเฉพาะจุด ถึงผู้อาศัยอยู่ในชุมชนนั้นๆ ที่ได้รับผลกระทบ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำแบบ Realtime ผ่านทาง Line application ทันทีที่ตรวจพบค่า PM2.5 เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้.
- ผู้ที่ได้รับข้อมูลแจ้งเตือน สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ในทันทีที่ได้รับข้อมูลแจ้งเตือน เช่น สวมหน้ากาก N95 ก่อนออกจากบ้าน หรืองดทำกิจกรรมนอกบ้าน เป็นต้น.
- ผู้ดูแลหรือผู้บริหารสามารถสั่งการให้ดำเนินการเข้าไปตรวจสอบแก้ไขในพื้นที่ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำ ทันทีที่มีการแจ้งเตือนค่า PM2.5 เกินกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งบางครั้งสาเหตุอาจเกิดจากปัจจัยภายในชุมชน เช่น เกิดเพลิงไหม้ หรือไฟป่า หรือการจราจรที่หนาแน่นกว่าปกติ เป็นต้น.
- Sensor ที่ใช้วัด PM2.5 เป็นแบบดิจิตอล มีระบบทำความสะอาดตัวเอง จึงทำให้ค่าที่อ่านได้ไม่ผิดเพี้ยน และทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า 10ปี โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยน และได้รับ certificate เป็นที่ยอมรับในทั่วโลกจากยุโรป.
- สามารถเลือก Scan QR code เพื่อรับการแจ้งเตือนข้อมูลจากเครื่องวัด PM2.5 ที่เราอาศัยอยู่ใกล้ที่สุดได้ เพื่อความถูกต้องและแม่นยำในการแจ้งเตือน.
- สามารถดูข้อมูลของเครื่องวัดในจุดต่าง ๆที่ต้องการผ่านทาง Web site ที่อัพเดทข้อมูลแบบ Real time และสามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้เท่าที่ต้องการ.
- สามารถดูข้อมูลคุณภาพอากาศอื่นๆนอกเหนือจาก PM 2.5 เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณคาร์บอนไดอ๊อคไซค์ เป็นต้น.
- ใช้สัญญาณ 3G/4G ในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถติดตั้งเครื่องเพื่อส่งสัญญาณได้ครอบคลุมทั่วประเทศและสามารถใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ได้กรณีไฟฟ้าขัดข้อง ทำให้ข้อมูลที่ได้มีความเสถียรและต่อเนื่อง.
- ตัวเครื่องออกแบบและผลิตภายในประเทศไทย ทำให้ต้นทุนมีราคาไม่สูงเหมือนเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง ทำให้ชุมชนขนาดเล็กเข้าถึงได้ง่ายขึ้น.
- ได้รับทุนวิจัยและคำแนะนำจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติหรือ NiA รวมถึงได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก มหาวิทยาลัยมหิดลและเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม ในการสร้างเมืองต้นแบบที่ใช้การแจ้งเตือน PM2.5 สู่ชุมชนอย่างแท้จริง.